Logo


ความหมายของวัฒนธรรม

"วัฒนธรรม" เป็นคําที่เราคุ้นเคย ได้ถูกนํามาใช้ในชีวิตประจําวันอย่างมาก "วัฒนธรรม" เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดยแปลมาจากภาษาอังกฤษ คําวา ่ "culture" ในภาษาไทยวัฒนธรรมเป็นคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ที่รากศัพท์ประกอบมาจากคําว่า

"วัฒน" หมายถึง ความเจริญงอกงาม ความคงทนถาวร ความยั่งยืน
"ธรรมแปลวา กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ

ดังนั้นตามความหมายรูปศัพท์ “วัฒนธรรม” หมายถึง ธรรมเป็นเหตุให้เจริญ แต่ความหมายง่าย ๆ ที่เราใช้กันคือ การปลูกฝังความเจริญงอกงาม การอบรมเลี้ยงดู ความดีงาม และความเรียบร้อย “วัฒนธรรม” ได้ถูกนํามาใช้ในลักษณะที่มีความหมายสองนัยด้วยกัน ซึ่งความหมายแรก ใช้ ในความหมายของบุคคลทัวไปในสังคม คือ มารยาทในการดําเนินชีวิต ความหมายอีกประการหนึ่ง คือ วัฒนธรรม ตามกรอบแนวคิดหรือตามความหมายของนักสังคมศาสตร์ ที่เชื่อว่า วัฒนธรรม เป็นการอบรม เรียนรู้ การปลูกฝังในเรื่องการดําเนินชีวิตของมนุษย์ โดยหมายรวมถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น และรวมไปถึงกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่าง ๆ

"ประเภทของวัฒนธรรม"การจัดแบ่งวัฒนธรรม สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ วัฒนธรรมทางวัตถุ และ วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ

1. วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ โดยเราจะพบได้ว่า วิธีการต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาจนกลายเป็นสิ่งของที่ใช้อํานวยความสะดวกในการดําเนินชีวิตประจําวัน และสามารถจับต้องได้ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือต่าง ๆ ตัวอาคาร ฯลฯ ล้วนจัดเป็นวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุทั้งสิ้น

2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ ซึ่งได้แก่ วิธีการคิดและแบบแผนของพฤติกรรมที่มนุษย์คิดขึ้นมา ไม่สามารถทําให้เห็นเป็นรูปร่างได้ จับต้องไม่ได้แต่มีผลต่อการดําเนินชีวิต จัดเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา ความเชื่อ ค่านิยม ศีลธรรม จริยธรรม กฎหมาย เป็นต้น

ความสำคัญของวัฒนธรรม

1) วัฒนธรรม เป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคมมนุษย์ วัฒนธรรมไทย เป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมไทย ให้มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนรวมถึงผลของการแสดงพฤติกรรมตลอดจนถึงการสร้างแบบแผนของความคิด ความเชื่อ และค่านิยมของสมาชิกให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน

2) วัฒนธรรม ทำให้เกิดความสามัคคีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สังคมที่มี วัฒนธรรม เดียวกันย่อมจะมีความรู้สึกผูกพันเดียวกัน เกิดความเป็นปึกแผ่น จงรักภักดีและอุทิศตนให้กับสังคมทำให้สังคมอยู่รอด

3) วัฒนธรรม เป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน เช่น รูปแบบของครอบครัวจะเห็นได้ว่าลักษณะของครอบครัวแต่ละสังคมต่างกันไป ทั้งนี้เนื่องจาก วัฒนธรรมในสังคม เป็นตัวกำหนดรูปแบบ เช่น วัฒนธรรมไทยกำหนดเป็นแบบสามีภรรยาเดียว ในอีกสังคมหนึ่งกำหนดว่าชายอาจมีภรรยาได้หลายคน หรือหญิงอาจมีสามีได้หลายคน ความสัมพันธ์ทางเพศก่อนแต่งงานเป็นสิ่งที่ดีหรือเป็นเรื่องขัดต่อศีลธรรม

4) วัฒนธรรม เป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหา และสนองความต้องการของ มนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตภายใต้สิ่งแวดล้อมได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นมนุษย์ต้องแสวงหาความรู้จากประสบการณ์ที่ตนได้รับการประดิษฐ์คิดค้นวิธีการใช้ทรัพยากรนั้นให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและถ่ายทอดจากสมาชิกรุ่นหนึ่งไปสู่สมาชิกรุ่นต่อไปได้โดย วัฒนธรรมของสังคม

5) วัฒนธรรม ช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า หากสังคมใดมี วัฒนธรรมที่ดีงาม เหมาะสม เช่น ความมีระเบียบวินัย ขยัน ประหยัด อดทน การเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว เป็นต้น สังคมนั้นย่อมจะเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

6) วัฒนธรรม เป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ คำว่า เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะพิเศษหรือลักษณะเด่นของบุคคลหรือสังคม ที่แสดงว่าสังคมหนึ่งแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง เช่น วัฒนธรรมการพบปะกันในสังคมไทย จะมีการยกมือไหว้กันแต่ในสังคมญี่ปุ่นใช้การคำนับกัน เป็นต้น


มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

หมายถึง การปฏิบัติ การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน หรือในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่า เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทาง วัฒนธรรมของตน มรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งนี้ เป็นสิ่งซึ่งชุมชนและกลุ่มชนสร้างขึ้นมาอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำให้คนเหล่านั้นเกิดความภูมิใจในตัวตนและความรู้สึกสืบเนื่องก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทาง วัฒนธรรม และการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

ภาษา หมายถึง เครื่องมือที่ใช้สื่อสารในวิถีชีวิตของแต่ละกลุ่มชน ซึ่งสะท้อนโลกทัศน์ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ทั้งเสียงพูด ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ภาษา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

(1) ภาษาไทย หมายความว่า ภาษาประจำชาติ หรือภาษาราชการที่ใช้ในประเทศไทย

(2) ภาษาไทยถิ่น หมายความว่า ภาษาไทยที่ใช้สื่อสารในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นกลางภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยถิ่นใต้

(3) ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ หมายความว่า ภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารในชุมชนท้องถิ่นของประเทศไทย เช่น ภาษาเขมรถิ่นไทย ภาษาม้ง ภาษาชอง ภาษามอแกน ภาษาลื้อ ภาษาพวน หรือภาษาอื่นที่มีลักษณะเป็นภาษาชาติพันธุ์

(4) ภาษาสัญลักษณ์ หมายความว่า ภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารด้วยภาษามือ ภาษาท่าทาง อักษร หรือสัญลักษณ์อื่นที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร


มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

หมายถึง การปฏิบัติ การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน หรือในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่า เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทาง วัฒนธรรมของตน มรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งนี้ เป็นสิ่งซึ่งชุมชนและกลุ่มชนสร้างขึ้นมาอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำให้คนเหล่านั้นเกิดความภูมิใจในตัวตนและความรู้สึกสืบเนื่องก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทาง วัฒนธรรม และการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์

วรรณกรรมพื้นบ้าน

(1) นิทานพื้นบ้านหมายความว่า เรื่องเล่าพื้นบ้านที่สืบทอดกันมา เช่น นิทานจักร ๆ วงศ์ ๆ นิทานประจำถิ่น นิทานคติ นิทานอธิบายเหตุ นิทานเรื่องสัตว์ นิทานเรื่องผี นิทานมุขตลก นิทานเรื่องโม้ นิทานลูกโซ่ หรือเรื่องเล่าอื่นที่มีลักษณะเป็นนิทานพื้นบ้าน

(2) ตำนานพื้นบ้านหมายความว่า เรื่องเล่าที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พิธีกรรม ศาสนาและประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น

(3) บทร้องพื้นบ้านหมายความว่า คำร้องที่สืบทอดกันมาในแต่ละโอกาส เช่น บทกล่อมเด็ก บทร้องเล่น บทเกี้ยวพาราสี บทจ๊อย คำเซิ้ง หรือคำร้องอื่นที่มีลักษณะเป็นบทร้องพื้นบ้าน

(4) บทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรมหมายความว่า คำสวดที่ใช้ประกอบในพิธีกรรม เช่น คำบูชา คำสมา คำเวนทาน คำให้พร คำอธิษฐาน คาถา บททำขวัญ บทอานิสงส์ บทประกอบการรักษาโรคพื้นบ้าน หรือคำสวดอื่นที่มีลักษณะเป็นบทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม

(5) สำนวน ภาษิตหมายความว่า คำพูดหรือคำกล่าวที่มีสัมผัสคล้องจองกัน เพื่อความสนุกสนานหรือใช้ในการสั่งสอน เช่น โวหาร คำคม คำพังเพย คำอุปมาอุปไมย คำผวน หรือคำพูดหรือคำกล่าวอื่นที่มีลักษณะเป็นสำนวน ภาษิต

(6) ปริศนาคำทายหมายความว่า ข้อความที่ตั้งเป็นคำถาม เพื่อให้ผู้ตอบได้ทายหรือตอบปัญหา เช่น คำทาย ปัญหาเชาวน์ ผะหมี หรือข้อความอื่นที่มีลักษณะเป็นปริศนาคำทาย

(7) ตำราหมายความว่า องค์ความรู้ที่มีการเขียนบันทึกในเอกสารโบราณ เช่น ตำราโหราศาสตร์ ตำราดูลักษณะคนและสัตว์ ตำรายา หรือองค์ความรู้อื่นที่มีลักษณะเป็นตำรา